วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาและกลยุทธ์ของเทคโนโลยีมัลติมีเดียในการสอนภาอังกฤษ


ปัญหาและกลยุทธ์ของเทคโนโลยีมัลติมีเดียในการสอนภาอังกฤษ
(On The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching)

1.    ในศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของโลกาภิวัตน์ ซึ่งภาษาต่างประเทศต่างๆและภาษาอังกฤษมาเป็นอันดับแรกการพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่และการพัฒนาของเทคโนโลยีมัลติมีเดียซึ่งเทคโนโลยีมัลติมีเดียนี้จะประกอบด้วย เสียงภาพและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษยุคใหม่  มีบทบาทในเชิงบวกในการส่งเสริมกิจกรรมและความคิดริเริ่มของนักเรียนและผลการเรียนการสอนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ
2.      การวิเคราะห์ความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียในการสอนภาษาอังกฤษ
2.1     การสร้างความสนใจในการเรียนให้แก่นักเรียน ปัจจุบันนี้ วิธีการสอนแบบดั้งเดิมและสภาพแวดล้อมซึ่งไม่เป็นที่นิยม ในขณะที่เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่มีทั้งเสียง, ภาพ, และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งให้ความรู้สึกที่เป็นจริงและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆมากขึ้น
2.2    เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของนักเรียน การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมที่ให้ระยะเวลาน้อยแก่นักเรียนที่จะเข้าใจโครงสร้างทางภาษา ความหมายและหน้าที่ของภาษาและนักเรียนซึ่งเป็นผู้รับความรู้ แต่ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายของการสื่อสารซึ่งครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและเป็นผู้นำของรูปแบบการคิดและการสร้างแรงจูงใจ อารมณ์ ของนักเรียนเทคโนโลยีมัลติมีเดียแบบใหม่พยายามบูรณาการการเรียนการสอนนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจนักเรียนเพิ่มขึ้น เช่นการใช้ power point ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสามารถกระตุ้นการคิดของนักเรียน การเปลี่ยนแปลงภาพและความชัดเจนของบทเรียนและกิจกรรมในชั้นเรียน เช่น การสนทนากลุ่ม การอภิปรายหัวข้อต่างๆและการโต้วาทีสามารถเปิดโอกาสในการสื่อสารในหมู่นักเรียน และระหว่างครูและนักเรียน การเรียนการสอนเทคโนโลยีมัลติมีเดียจะเป็นการส่งเสริมความคิดเชิงบวกของนักเรียนและทักษะการสื่อสารในการปฏิบัติทางสังคม
2.3 เพื่อขยายความรู้ของนักเรียนในการเข้าใจ วัฒณธรรมของตะวันตก มากยิ่งขึ้น
นักเรียนสามารถนำเสนอข้อมูลได้มากมายจากแผ่นดิสก์มัลติมีเดียซึ่งครอบคลุมภาษาอังกฤษซึ่งผลของแผ่นดิสก์มัลติมีเดียที่ครอบคลุมภาษาอังกฤษจะมีความสมบูรณ์กว่าตำรา และจะแสดงถึงภูมิหลังของวัฒนธรรมที่หลากหลายและวัสดุภาษาที่ใช้ในชีวิตจริงสามารถจัดให้นักเรียนมีความรู้และนำมาเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันในหมู่นักเรียน
2.4 เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ในการสอน
การเสริมสร้างการเรียนการสอนโดยใช้มัลติมีเดีย เป็นการเรียนรู้โดย "ครูเป็นศูนย์กลาง" ห้องเรียนที่มีขนาดใหญ่เกินไปจึงเกิดการจำกัดการพูดสื่อสารเพราะผู้เรียนไม่สามารถที่จะพูดหรือใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับครูและการให้ข้อมูลที่ถูกจำกัด ซึ่งตรงกันข้ามเทคโนโลยีมัลติมีเดีย  นอกเหนือไปจากเวลาและการสร้างความชัดเจนภาพสภาพแวดล้อมที่เหมือนจริง  สำหรับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยกระตุ้นความคิดริเริ่มของนักเรียนและประหยัดเวลาในชั้นเรียนในขณะเดียวกันจะเพิ่มข้อมูลชั้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยกระตุ้นความคิดริเริ่มของนักเรียนและประหยัดเวลาในชั้นเรียน
3.      การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ 
3.1     บทบาทของครูลดลง ครูสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยครูนั้นบรรลุผลการเรียนการสอนที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ครูควรจะใช้ประโยชน์จะเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่  แต่ถ้าหากครูนำมาใช้มากเกินไปก็จะทำให้บทบาทของครูลดลง และจะทำนักเรียนเกิดการจำกัดทางความรู้  ถึงแม้เทคโนโลยีมัลติมีเดียนี้มีประโยชน์มากก็จริงแต่ครูก็ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
3.2    สูญเสียการพูดและการสื่อสาร   การที่ครูใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียมากเกินไปจะนำให้นักเรียนสูญเสียการสื่อสาร  เพราะนักเรียนไม่มีโอกาสที่จะพูดสื่อสาร และจำทำให้การพูดสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนเลือนหายไป
3.3    ศักยภาพในการคิดของนักเรียนลดลง การสอนภาษาจะแตกต่างจากวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอนภาษาไม่จำเป็นต้องมีการสาธิตการตามขั้นตอนต่างๆแต่การสอนภาษาจะเน้นการถาม ตอบ ระหว่างครูและนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนนั้นได้ใช้ความคิด
3.4    ความคิดแบบนามธรรมถูกแทนที่โดยความคิดจินตนาการ ถ้าหากเราใช้สื่อมัลติมีเดียมากเกินไปก็จะทำให้ความสามารถของผู้เรียนทางด้านการเขียนลดลงเพราะจะถูกแทนที่ด้วยมัลติมีเดียที่มีทั้ง เสียงและภาพ เพียงแค่เราใช้แป้นพิมพ์  ดังนั้นเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะคอยช่วยเหลือครู ไม่สามารถที่จะมาแทนบทบาทของครู
4.      แนวทางแก้ไขและทางออกของปัญหา
4.1     ความสวยงามของซอฟแวร์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อผสมสามารถทำให้เกิดความสำเร็จในการเรียนการสอนได้แต่ครูพยายามอย่าให้คอมพิวเตอร์เข้ามาแทนบทบาทของครูได้ การแนะนำบทเรียนควรสื่อสารด้วยการพูด เพราะการพูดเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่สามารถปรับปรุงการฟังและการพูดของนักเรียนได้ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำได้
4.2    จอคอมพิวเตอร์ไม่สามารแทนที่กระดานดำได้  ครูบางคนใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์แทนกระดานดำ ซึ่งจะป้อนข้อมูลซึ่งเป็นแบบฝึกหัด คำถาม คำตอบ และแผนการเรียนการสอนซึ่งไม่มีการนำมาเขียนบนกระดานดำหรือบอกหัวข้อบทเรียน การเขียนบนกระดานดำข้อมูลจะรวบรัดและชัดเจนกว่าและผู้สอนก็สามารถปรับและแก้ไขได้หากเขียนผิด
4.3    พาวเวอร์พ้อยไม่สามารถมาแทนที่ความคิดได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียส่วนใหญ่จะมีทั้ง เสียงและภาพเคลื่อนไหวซึ่งสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีกว่า  แต่ก็มีผลเสีย คือ  นักเรียนไม่ได้ใช้ความคิดและไม่สามารถสื่อสารได้ ดั้งนั้นเราควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดของตัวเองและได้พูดมากขึ้น
4.4    อุปกรณ์ดั้งเดิมไม่ควรถูกมองข้าม  มัลติมีเดียมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเรียนการสอนไม่สามารถแทนที่ด้วยเครื่องมืออื่น ๆได้ ดังนั้นครูควรจะเลือกสื่อที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของการสอนและบูรณาการการใช้มัลติมีเดีย
4.5    สื่อเทคโนโลยีมัลติมีเดียไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะการใช้สื่อมากเกินไปจะทำให้นักเรียนไม่ได้ใช้ความคิด 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Conversation

Family Members